Thursday, August 30, 2012

ความรู้สึกที่กาย vs ที่ใจ

ความรู้สึกท่ีกาย คือ sensing รวมไปถึง รับรู้ทาง ได้ยิน ได้กล่ิน ได้เห็น ได้รสชาติ ( hearing smelling seeing tasting ) และ กายหนาวร้อน เจ็บปวด
ความรู้สึกท่ีใจ คือ feeling ซ่ึง เม่ือเกิดความรู้สึกท่ีใจ จะสังเกตได้ว่า อาการของกายจะเปล่ียนแปลงตามไปด้วย จากหายใจเข้าช้าไปเป็นเร็วขึ้น เกร็ง ขมวดคิ้ว เลือดลมสูบฉีดแรง ฯลฯ
ความรู้สึกท่ีใจ เช่น เจ็บใจ แค้น เศร้า โกรธ กลัว งก หวง โลภ อยากได้ เสียดาย ห่วง กังวล บ้ากาม เบ่ือ เซ็ง หมดกำลังใจ ท้อแท้ ดีใจ เสียใจ ฯลฯ มีทั้ง บวกและลบ กุศลและอกุศล
ความรู้สึก ท่ีใจนี้ เป็น ผลลัพธ์ (outcome) ท่ีตัดสิน ทุกข์ มาก หรือน้อย เป็นกรรมต่อไป
เราควรฝึกย้อนมาดูกาย ดูใจ ของเรา เป็นนิจนะ
ทุกวันนี้ เรามีแต่ จะคิด ฝึกคิด (thinking) มากไป จนขาด ตัวรู้ท่ีกาย ที่ใจ ทำให้ไม่เข้าใจ (ท่ีใจ) เรื่องทุกข์
เร่ืองทุกข์ เกิดท่ีใจ ก็ต่่้องฝึกใจให้ได้ก่อน ไม่ใช้ฝึกคิด คิดมากไป
คนเรายังไงต้องคิด แต่ให้คิดตอนใจสบาย ใจโล่ง นะ

เรารู้สึกอย่างไร ตอนที่ ดีใจ กับ โล่งใจ
ดีใจ ยังเจือกิเลสนะ
โล่งใจ จะโปร่งสบาย เหมือนหลุดออกจากกรง ได้อิสระ
โล่งใจ สบายๆ ต่างจากดีใจนะ มันไม่กุศล ไม่อกุศล มันใสๆ โปร่ง เหมือนตอนโดนศาลสั่งยกฟ้อง หรือ สอบวิชาสุดท้ายเสร็จ
ฝึกสร้างความรู้สึกท่ีกายและใจ คือ การฝึกสติน่ันเอง
อย่าให้ความคิด แย่งความรู้สึกนะ
ฝืนความเคยชิน เร่ือง เอาแต่คิดบ้างนะ ลองให้โอกาส กายใจ ได้รับรู้บ้าง
เหล่านักคิดทั้งหลาย จมความคิดมานาน ลองเปิด ความรู้ใหม่ รู้ด้วยกาย ด้วยใจ บ้างนะ
"จิตว่าง แล้วค่อยคิด
อย่าด่วนคิด ตอนจิตไม่ว่าง "

หลงคิด น่ีแหละ ทำให้เกิดทุกข์



Wednesday, August 29, 2012

ถาม ตอบ เรื่องนั่งสมาธิ

ผมขออนุญาต ตอบคำถาม ตามความเห็นของผมเอง คำถามต่างๆ ที่หลายๆท่านได้ถามผมในวาระต่างๆ (๑) ทำไมต้องนั่งขัดสมาธิ ? : ผมเชื่อว่า เป็นการ "บีบบังคับ" ในเบื้องต้น ไม่ให้เรา ขยับระยางค์ (แขนขา)ของเราได้ถนัด จิตกับความคิดจะได้ ไม่ออกไปนอกกาย ยิ่งนั่งขัดสมาธิเพชรจะล็อคขาเอาไว้ทำให้ต้องเตือนตนเอง หากคิดจะขี้เกียจ เลิกฝึกก่อนกำหนด นอกจากนี้ การนั่งสมาธินั้น เป็นรูป ๓ เหลี่ยนด้านเท่า หากเราเหยียดแข้งเหยียดขา เหยียดแขนออกไป จะเพิ่มโอกาสในการส่งจิตออกนอกได้ง่ายขึ้น และ ลักษณะของ ๓ เหลี่ยนด้านเท่าในการนั่งขัดสมาธินั้น ทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพสมดุลมาก รวมไปถึง การที่ใครๆมองมา ก็ รู้ว่า คนๆนี้กำลังนั่งสมาธิ จะได้หลีกเลี่ยงการรบกวน อย่างไรก็ตาม หากผู้ฝึก อายุมากแล้ว นั่งท่าไหนก็ได้ แต่ ทุกครั้งที่ขยับตัว ก็ให้มีสติกำกับ คือ รู้เท่าทัน รู้ทันเวทนาที่เปลี่ยนไป จาก เหน็บชาเป็นสบาย ผู้ที่กำลังสติมากแล้ว แยก "จิตกับความคิด" ได้แล้ว ไม่ต้องนั่งสมาธิก็ได้ เพราะ เดิน ยืน นั่งนอน ทุกอิริยาบท สามารถมีสติ ใจสบายๆ มีสติควบคุมความคิดได้แล้ว ทุกข์มาพร้อมความคิด ดังนั้น ถ้าเราดีดความคิดจรออกไปได้ ดับความคิดเฉโก ( เฉโก คือ ความคิดที่เจือกิเลส เต็มไปด้วยอัตตาตัวตน ตัวกู ของกู คำว่า เฉโก นี้ เป็นของท่านพระอาจารย์พุทธทาส) ได้ จากเดิมจิตทำงานร่วมกับความคิด เมื่อเราฝึกสติมากๆ อุปมาเป็นมีดหั่นจิตออกจากความคืด จากเดิม จิตบงการความคิด แต่ เมื่อสติมากๆ เป็นมหาสติ จิตจะว่าง ว่างจากความคิด เพราะ เรา เอาสติไปควบคุมความคิดแทนจิตได้แล้ว เมื่อเป็นมหาสติ เราจะได้ "สติออโต้" รู้ทันกิเลส หรือ รู้ทันความคิดจร ดับความคิดเฉโกได้ นี่แหละ ดับทุกข์ได้แล้ว ใจโล่งๆ ๒๔ ชั่วโมง อยู่ที่ไหน ทำอะไร ก็มีความสุขแบบทางธรรม ไม่มีทุกข์ และ รับผิดชอบการงาน ทำตามหน้าที่ ไม่ขี้เกียจ ไม่เอาเปรียบสังคม
(๒) ทำไมต้องปิดตา ? : เพื่อลดอายตนะ "ตา" ลงไป เพราะ ถ้าเห็น ก็มักจะอดคิดไม่ได้ การนั่งสมาธิ ก็เพื่อ หัดสร้างกำลังสติที่ "ฐานกาย" (ดูลมหายใจ รู้ตัว รู้กายด้วยกาย )และ เฝ้าระวังความคิด โดยเฉพาะ ความคิดจร (ความคิดที่ไม่ได้เชื้อเชิญ ความคิดที่มาชวนเปลี่ยนอารมณ์ ) คำว่า " การสร้างตัวรู้ๆๆๆ" คือ การสร้างสติ นั่นเอง รู้กาย หรือ จะใช้คำว่า "สังเกตุกาย" ก็ได้ แต่ อย่าไปคิดแทนกาย ให้กายเขารู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับกาย การที่เราปิดตา ก็เพื่อลดการแทรกแซงของความคิด ผู้มีสติมากๆ แยก "จิต กับ ความคิด" ได้แล้ว ก็ไม่ต้องปิดตาก็ได้ ทุกอิริยาบท สามารถมีสติ ควบคุมอารมณ์ได้ ควบคุมความคิดได้ ใจสบายๆได้แล้ว (๓) ทำไมต้องบริกรรมพุทธโธ ? : ที่ให้บริกรรมพุทธโธ เพราะ ต้องการให้ ความคิดมีหลักในการเกาะ สำหรับมือใหม่หัดฝึก "จิตกับความคิด"ยังเกาะไปด้วยกันเป็นสังขยาเละไปด้วยกัน หากไม่บริกรรม ก็จะวุ่นวายคิดโน้นคิดนี่ โดยเฉพาะ คนที่มาจากระบบการศึกษายุคนี้ คือเอาแต่คิด ยิ่งคิดก็ยิ่งหาจิตหาใจของตนเองไม่เจอ จึงต้องเอาคำบริกรรมเป็นตัวล่อ ตัวเกาะ เป็นวิหารให้อยู่ไปก่อน นอกจากนี้ การบริกรรมพุทธโธ ก็เหมือนการท่องบทคาถา ยิ่งบริกรรมมากๆ จะกลายเป็นพุทธานุสติ คำว่าพุทธโธจะฝังลงในจิตในสำนึก ว่ากันว่า ฝังในระดับจำข้ามภพชาติได้เลย อย่างไรก็ตาม เมื่อฝึกมากๆ ชั่วโมงฝึกมาก ผิวหนังที่บริเวณรูจมูกรู้ว่ามีลมเข้าออก เย็นร้อน ถี่ช้า ฯลฯ โดยไม่ได้เอาความคิดไปแทรกแซงการรู้ กำลังสติจะมากขึ้น คำบริกรรมพุทธโธนี้จะหายไปเองโดยอัตโนมัติ คนที่ชอบ บริกรรมยุบหนอ พองหนอ โดยกำหนดตาม การยุบพองของพุง ก็ทำได้ แต่ เผอิญ ไม่ได้ฝึกมาแนวนี้ เลยไม่สามารถอธิบายได้ (๔) ควรทำวันละกี่นาที ? : ถ้านั่งสมาธิ ๓๐ นาที ผมแนะนำว่า ควรเดินจงกรมก่อน ๓๐ นาทีเช่นกัน แล้ว ยืนนิ่ง สัก ๕ นาที ยืนบริกรรมพุทธโธ พร้อมกับดูลมหายใจเข้าออก ทำใจสบายๆ หลักการเดียวกันกับการนั่งสมาธิ แล้วจึงค่อย นั่งสมาธิ ๓๐ นาที เนื่องจาก ผมเรียนเรื่องกรรมฐานนี้มาจาก พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่จันทา ถาวโร (วัดป่าเขาน้อย) ซึ่งเป็นท่านเล่าให้ผมฟังว่า อาจารย์ของท่าน คือ หลวงปู่ขาว อนาลโย (วัดถ้ำกลองเพล) ท่านจะให้ เดินจงกรม ๑ ชั่วโมง ยืน ๑๕ นาที นั่งสมาธิ ๑ ชั่วโมง และ ต่อด้วย เดินจงกรม ๑ ชั่วโมงครึ่ง ยิน ๑๕ นาที นั่งสมาธิ ๑ ชั่วโมงครึ่ง และ เดินจงกรม ๒ ชั่วโมง ยืน ๑๕ นาที นั่งสมาธิ ๒ ชั่วโมง จากประสบการณ์ ผมเชื่อว่า ถ้าเดินและยืนก่อนจะมานั่ง จะนั่งได้ดี ทน และสงบเร็วมาก ปกติ ผมจะฝึก สร้างสติ ให้ฝ่าเท้ารู้ๆๆๆ ทุกก้าวที่เดิน โดยทำทั้งวัน ทุกเวลาที่มีโอกาส ไม่ว่าจะเดินไปทำงาน เดินไปห้องน้ำ นั่งรอ ยืนรอ ก็ดูลมหายใจ สร้างสติกำกับทุกอิริยบท นั่นคือ ทำทั้งวัน แม้นแต่ในฝัน ก็ระลึกว่า ต้องฝึกสติ ฝึกดูลมหายใจว่าหลับที่พุทธ หรือ ที่โธ และ ตื่นที่พุทธ หรือที่โธ การฝึกสตินั้น ยิ่งมากย่ิงดี ฝึกในขณะทำงานก็ได้ มือทำไป ก็สร้างตัวรู้ ที่มือ ที่กาย ที่เท้า ทำใจสบายๆ ระวังความคิดจร คิดอยู่แต่กับเรื่องงาน ไม่อคติ ไม่ลำเอีบง ไม่เฉโก (๕) ควรไหว้พระ สวดมนต์ แผ่เมตตาไหม ? : ผมคิดว่า จำเป็นนะ ทั้งนี้ ก็แล้วแต่โอกาส สถานที่ด้วย ทำได้ก็ทำ ไม่เสียหายอะไร หรือ คิดแบบ มวยไทย ก็คือ ไหว้ครูก่อนขึ้นชก ดูแล้วกตัญญู คล้ยๆกับวอร์มอัพ (warm up) เตรียมความพร้อม หรือ อุ่นเครื่อง (๖) ว่ากันว่า ถ้าไม่มีครูอาจารย์ นั่งสมาธิแล้วจะเพี้ยน เป็นบ้าได้ จริงหรือไม่ ? : ผมเชื่อว่า การฝึกกีฬา ฝึกดนตรี ก็เหมือนฝึก "สติ" ควรมีโค้ช (coach) เป็นโค้ชที่ยังไม่ตายนะ เพราะ เราจะได้สอบถามท่าน หากผิดพลาดจะได้มีการแก้ไข หลวงปู่หลวงพ่อ ครูบาอาจารย์ ท่านถนอดสังขาร ไม่ละสังขาร ก็เพื่อรอเราเข้าไปถามเรื่องการฝึกนี่แหละ หลายคนนั่งสมาธิแล้ว หลงไปนิมิต หลงนิมิต เห็นโน้นเห็นนี่ นี่แหละ อาจจเพี้ยนได้ มั่วได้ คิดไปเองก็มี มั่วก็มี ฯลฯ ซึ่งถ้าพวกเขามีครูอาจารย์ และ เชื่อฟังครูอาจารย์ ทำตาม ไม่ดื้อ ก็ไม่มีทางเพี้ยน มีแต่จะสุขมากขึ้น เข้าใจโลกมากขึ้น ดูแลคนใกล้ชิด ดูแลสังคม ทำงานได้ดีขึ้น น่ารักมากขึ้น ฯลฯ หลายคนไปวัด เอาแต่ถามเรื่องส่วนตัว เรื่องทำงาน เรื่องโลกๆ ผมคิดว่าน่าจะฝึกๆๆๆๆ และ ถามท่าน เช่น ฝึกแบบนี้ใช่ไหม ผมทำผิดหรือเปล่า ขอกำลังใจมนการฝึก ขอเทคนิคในการฝึก ฯลฯ เอาสิ่งที่พ่อแม่ครูอาจารย์สอนนี้ ไปทำต่อ แล้ว มีโอกาส ก็กลับมาถามอีก (๗) จะวัดผลการฝึก อย่างไร ? : สติมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น ทั้งกาย ทั่วกาย ทุกอิริยาบท ได้สติต่อเนื่อง ลดการทะเลาะกับผู้คน ไม่โกรธใคร ดับความโกรธได้เร็ว ไม่โลภ ไม่หลง นิสัยดีขึ้น ศีลครบ น่ารักขึ้น มีน้ำใจมากขึ้น มีเมตตามากขึ้น ไม่โหด ไม่งก ไม่เค็ม รู้จักฟัง เป็นคนดี ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่พูดมาก ไม่ขี้โม้ ฯลฯ หมดคำว่า "ขี้" ทั้งหลาย ขี้เกียจ ขี้คุย ขี้งก ขี้โอ่ ขี้เบ่ง ขี้ไถ ขี้หลี ฯลฯ บางคนฝึกมาก ไปวัดบ่อยมาก แต่ นิสัยยังเต็มไปด้วย "ขี้" ดังกล่าว ก็ถือว่า สอบตก ไม่ผ่าน ไม่มีประสิทธิภาพในการฝึก หลายคนเข้าวัด ฝึกสติ แต่ ขาดเมตตา ยังโหดเหี้ยม เอาเปรียบคนอื่น ไม่ให้อภัยใคร ฯลฯ นี่ ก็สอบตก ไม่ผ่าน ไม่ก้าวหน้า (๘) ทำไมต้องมือขวาทับมือซ้าย เท้าขวาทับเท้าซ้าย ? : ตอนฝึกใหม่ ผมไม่สงสัย ไม่วิจิกิจฉา (สงสัยมาก คิดมาก) หลวงปู่จันทา หลวงพ่อกล้วย (วัดป่าธรรมอุทยาน) ท่านสั่งให้ทำอะไร ก็ทำไป ต้องไว้ใจท่าน เราเลือกท่านเป็นโค้ช ผมไม่ถามจนกว่าจะฝึกๆๆๆๆๆ ตามที่ท่านสอนแล้ว มาระยะหลังหลังนี้ มีคนถามเยอะ พวกนักคิดเยอะ พวกที่มาวัดจากการอ่านหนังสือ อ่านเว็ป เป็นผู้ชำนาญการคิด เต็มไปด้วยความคิด ทั้ง สงสัย วิจารณ์ วิเคราะห์ จับผิด คิดเทคนิคใหม่เอง อ้างอิงตำรา เปรียบเทียบคำสอนแต่ละสำนัก ฯลฯ คนคิดมากแบบนี้ ฝึก "สติ" ได้ยาก เพราะ เราต้องฝึก ให้กายได้รู้ๆๆๆ โดยไม่เอาความคิดไปแทรกแซงการรู้ของกาย กายรู้กาย จิตรู้จิต ไม่ใช่ เอาความคิดไปรู้กาย ไม่ใช่เอาความคิดไปรู้จิตนะ เวลานั่งสมาธิ ผมจะให้กายเป็นผู้สังเกต กายเป็นผู้รู้ ผมมั่วเอาเองว่า มือซ้ายใกล้หัวใจ ดังนั้น ให้กาย (หลังมือขวา) รับรู้ ความร้อนที่เกิดขึ้นจาก กาย (อุ้งมือซ้าย) กายจะสังเกตความร้อนที่สะสมขึ้นเรื่อยๆ (๙) ทำไมต้องนิ้วโป้งซ้ายชนขวา หรือ นิ้วโป้งซ้ายใต้ขวา ? : เป็นการสร้างตัวรู้ กายรู้กาย นิ้วโป้งซ้ายและขวาจะชนกัน หรือทับกันก็ได้ ทั้งนี้ ก็เพื่อ ให้ กายรู้กาย หากนั่งไปแล้วลืมตัว จะขาดสติที่กายรู้กาย นั่นคือ ตกภวังค์ไปแล้ว อาจจะหลับและฝันก็ได้ ดังนั้น ถ้าเราง่วง หรือดิ่งสงบ จนความรู้สึก (sensing) หายไป หรือ บางท่านบอก "กายหายไป" ผมจะไม่ดิ่ง ไม่หลับ ไม่ให้กายหายไป ไม่ยอมให้เสีย sensing แน่นอน เพราะ ผมยังรู้สึกที่ นิ้วโป้งชนนิ้วโป้งอยู่ ความร้อนจากมือซ้ายยังขึ้นมายังมือขวาอยู่ ความร้อนที่ก้นแตะพื้น ความร้อนที่ขึ้นมากระทบขา แข้ง ยังมีอยู่ ความรู้สึกของลมผ่านเข้าออกรูจมูกยังมีอยู่ รู้แม้นกระทั่ง ขนในรูจมูกลู่ไปตามลม ลมพัดโดนเส้นผม ลมพัดโดนลำตัว ก็รู้ๆๆๆๆ (๑๐) ทำไม มีพระท่านบอกว่า ฝึกในที่อากาศหนาว จะดีกว่าที่ร้อน ดีกว่าริมทะเล ? : เนื่องจากการฝึกสติ เริ่มต้นที่ กายรู็กาย การฝึกในที่หนาวๆ เราจะคิดฟุ้งซ่านน้อยลง เราจะกลับมาที่ผิวกายได้ง่าย และ การฝึกริมทะเลผมเชื่อว่า ว่อกแว่กง่าย เสียงคลื่นไม่แน่นอน แม่ค้าส้มตำ คนเปิดเพลงดังลั่น ห่วงกิน ห่วงนอน ตื่นตาตืนใจมากไป ผมเชื่อคำสอนที่ พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ ฝึกในที่ สงัด โคนต้นไม้ บ้านร้าง ป่าช้า และ ทุ่งกว้าง ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ไม่มีริมทะเล ไม่มีทะเลทราย
(๑๑) ทำไมต้องนั่งสมาธิ ? : สำหรับมือใหม่ ลองนั่งไปดูก่อนนะ ชำนาญแล้ว ฝึกได้ทุกอิริยาบท ตามดู ตามรู้ ซึ่งพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงพ่อกัณหาสอนว่า "หายใจเข้าสบาย หายใจออกสบาย" พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงพ่อกล้วย ก็สอนว่า "อยู่ที่ไหน ก็เอาสติไปเป็นเพื่อนด้วย" คำว่า นั่งสมาธิ จริงๆแล้ว ผมว่าน่าจะใช้คำว่า ฝึกสติโดยการนั่ง เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ คำว่า จิตเป็นสมาธิ คือ จิตปราศจากกิเลสได้อย่างยั่งยืน คำว่า สมาธิ คือ ต่อเนื่อง ยั่งยืน ถาวร ไม่ว่อกแว่ก ไม่เปลี่ยนแปลง ไปเพี้ยนไป (๑๒) บางคนฝึกสมาธิมานาน ทำไม ดูแล้ว ยัง จี๊ดง่าย วีนง่าย โกรธง่าย นิสัยยังไม่ดีอยู่เลย ? : ผมเชื่อว่า การฝึกสติ นั่น ฝึกแล้ว ต้อง ละ "ขี้" ทั้งหลายออกไปได้ พวกเขาอาจจะฝึกผิดก็ได้นะ จากประสบการณ์ของผม ผมเชื่อว่า ต้อง กตัญญูกตเวที คือ ดูแลพ่อแม่ให้ดี ต่อให้ฝึกสติทั้งวัน แต่ ไม่ดูแลพ่อแม่ให้ดี ก็ไม่น่าจะฝึกสำเร็จ ถึงขั้นได้ "มหาสติ" นอกจากนี้ ควรถือทำทาน ทำแบบไม่หวังผลนะ และ ควรถือศีลให้ครบ อย่างน้อยศีล๕ ต้องทำได้ การถือศีล ๕ เป็นการฝึกสติ ฝึกจิตด้วยนะ หลายคน ศีลบกพร่อง ฝึกหนักแค่ไหน ก็ยากจะพัฒนา ผมเชื่อว่า การฝึกนั้น ต้องละนิสัยไม่ดีออกไปด้วย ผมเชื่อว่า "ปฏิบัติธรรม ก็คือ ดัดสันดาน" (๑๓) การฝึกสตินั้นเอามาดัดสันดาน ยังไง ? : ถ้าเราเข้าใจเรื่อง "จิต สติ ความคิด" เราจะเห็นได้ว่า ก่อนที่จะ จี๊ดๆ ปรี๊ดๆๆ โกรธใคร ออกอาการของขึ้นนั้น จะมีความคิดจรแทรกเข้ามา คนที่ฝึกสติดีแล้ว จะรู้ทันความคิดจร และ ดับความคิดจรนั้นได้ทัน หรือ รักษาสภาพความคิดปัจจุบัน เอาไว้ได้ ความคิดจรต่างๆ เช่น ตัดสินว่าคนนั้นดีเลว เก่งกว่าโง่กว่าฉลาดกว่า รังเกียจ อคติ เพ่งโทษ วิจารณ์เชิงลบ วิจารณ์เชิงบวก ติดใจ เกลียด รัก กลัว อยากได้ ไม่อยากได้ ฯลฯ
(๑๔) ทำไมต้อง ไปฝึกที่ป่าช้า ? : ที่ป่าช้านั้น เราจะฝึกดูความคิดจร ดูจิตได้ดีนะ เพราะ ในป่าช้ามันช้าพอที่จะเห็นความคิดจร สมมติเรากำลังเดินหรือนั่งในป่าช้า หายใจสบาย เดินจงกรม ความคิดปัจจุบัน คือ กำหนดพุทธโธ พอมีเสียงอะไรประหลาด ความคิดจร จะ ตีความ จะปรุงแต่ง จนจิตเกิดอาการกลัว เมื่อจิตไม่ว่าง ความคิดเฉโกจะไหลออกมาเพียบเลย ถ้าเราฝึกในเมือง ในบ้านของเรา มันเป็นป่าเร็ว คือ มีความคิดจรรัวเข้ามาเยอะและเร็วมาก ราวกับปืนกล เราจึงดูไม่ค่อยจะทัน อุปมา การฝึกในป่าช้า คือ ฝึกว่ายน้ำในสระตื้นๆ ง่ายๆ เมื่อว่ายได้ดีแล้ว ค่อยไปว่ายในทะเล ในน้ำลึก ลื่นลมแรงๆได้ นั่นคือ อยู่ในสังคม ในโลกๆได้ (๑๕) เอาแต่ไปฝึกสมาธิ ไม่สนใจทางโลก ไม่รับผิดชอบ ? : เป็นความเข้าใจผิดนะ เป็นความคิดเฉโกของผู้ที่มีกำลังสติน้อย ฝึกมาน้อย ยังติดคิดๆๆๆๆๆอยู่ เป็นคำวิจารณ์ของผู้เชี่ยวชาญ ด้านคิดๆๆ ที่ยังไม่ได้ฝึก คนที่ฝึกสติดีแล้ว จะสมดุลทางโลกและทางธรรมได้ เมื่อจิตว่าง สติต่อเนื่อง จะดีดความคิดจร พวกขี้เกียจ อิจฉา ขี้ๆทั้งหลายออกไปได้ ดังนั้น จะ รับผิดชอบงานได้ดี ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง ไม่โกง ไม่งกๆเค็มๆ ตรงกันข้ามกับคนที่สติน้อย แม้นจะขยันมาก ดูแล้วว่าทำเพื่อโลกมาก แต่ อาจจะทำร้ายโลกอยู่ก็ได้ หาเงินบนน้ำตาผู้คน ร่ำรวยโดยทำลายแม่ธรณี แม่คงคาอยู่ก็ได้นะ คนพวกนี้ ไม่สมดุลทางโลกและทางธรรม อย่างไรก็ตาม ผมก็แนะนำว่า ในเบื้องต้นควรปลีกตัวมาฝึก มาเข้าใจ มารู้เทคนิค มากราบโค้ช ฯลฯ อุปมา ฝึกกอล์ฟ ฝึกงาน เขายังต้องปลีกเวลาออกมาฝึกก่อนเลยนะ ใครจะโง่ทะเล่อทะล่าเข้าไปทำงานได้เลย ยิ่งทำก็ยิ่งผิดน่ะสิ (๑๖) ทำงานหนักมาก ไปไหนลำบาก ดูแลพ่อแม่แก่เฒ่า งานยุ่งมาก ? : งั้นก็รอตายแล้ว ชาติหน้าฝึกก็แล้วกันนะ หากยังมีลมหายใจ ก็ดูลมหายใจ ก็มีเวลาฝึก มีเวลาหายใจก็มีเวลาฝึก หากมีเท้าก้าวเดิน ก็กำหนดรู้ทุกก้าว หากมีการพบปะผู้คน ก็ฝึกละความคิดจร อย่าจี๊ดๆๆ หากมีเงิน ก็ฝึกการให้ทาน หากมีพ่อแม่ลูกเมีย ก็ฝึก อดทน ให้อภัย ยอมเสียเปรียบบ้าง หากมีเวลายกช้อน จับตะเกยบ ก็ฝึกกายรู้กายที่จับช้อน จับตะเกียบ หากมีฟันมีลิ้น ก็ฝึกรู้ๆๆๆทุกคำที่เคี้ยว หากอาบน้ำ ก็ให้กายรู้กาย รู้ทั่วตัว โดนน้ำตรงไหน เย็น อุ่น สบาย หากเข้าห้องสุขา ก็สร้างตัวรู้ รู้ขี้ในลำไส้ รู้กล้ามเนื้อหูรูกขมิบตูด หากยังอ้าง ยังคิดว่าไม่มีเวลา ก็ถือว่า ปัญญาอ่อนได้ถึงขนาดนี้เลยหรือนี่ ผมว่า คนพวกนี้ ขี้เกียจ และ ขาดศรัทธาจริงๆ ยังไม่มุ่งมั่นพอมากกว่า ทีหัดกินเหล้า ขมๆ ขมจนหมายังไม่กินเลย ก็ยังหาเวลาฝึกจนกินได้ ทีหัดตีกอล์ฟ เล่นคอมพิวเตอร์ ตีแบด ใช้ไอโฟน ยังฝึกได้เลยเนอะ

Tuesday, August 28, 2012

ทำไมต้องนั่งสมาธิ

มีหลายท่าน ชวนให้ผมแนะนำเรื่อง "การนั่งสมาธิ"(Meditation) ดังนั้น เพื่อให้ หลายคนสบายใจ ว่า "นั่งสมาธิ" ทำยังไง ผมขออนุญาต อธิบายตามความเข้าใจของผมเอง ดังนี้ (๑) คำว่า "สมาธิ" นี้ ผมคิดเอาเองว่า เป็็น คำขยายกิริยา (adverb) เพื่อทำให้ กิริยานั้น ดู "ต่อเนื่อง"(Continuous) "คงที่" "ไม่เปลี่ยนแปลง"(Constant) ยั่งยืน ไม่ว่อกแว่ก จดจ่อ ฯลฯ เช่น เล่นเกมส์อย่างมีสมาธิ ฟังอย่างมีสมาธิ มีสมาธิในการเล่นดนตรี เป็นต้น
(๒) ในทางธรรม ผมเชื่อของผมเองว่า จิตเป็นสมาธิ หมายถึง อาการของจิตที่มีลักษณะ นิ่ง ว่าง โล่ง โปร่ง สบาย อย่างต่อเนื่อง อย่างคงที่ อย่างยั่งยืน โดย จิตไม่เปลี่ยนแปลง จิตไม่เป็นทั้งกุศล จิตไม่ทั้งอกุศล จิตไม่เสวยอารมณ์ใดๆ จิตว่างๆ กลางๆ โล่งๆอย่าง "ต่อเนื่อง" (๓) ที่นี้ ก็มีคำถามว่า จิต คือ อะไร ? ใจ คือ อะไร _? ผมก็มักตอบแบบง่ายๆ ว่า ใจ คือ จิตเดิมแท้ ใจคือจิตที่นิ่งๆ เป็นศูนย์ (0) เป็นกลางๆ __ จิต คือ ใจที่ไม่นิ่ง ไม่เท่ากับศูนย์ เสวยอารมณ์เข้าให้แล้ว เป็น + (กุศล) เป็น - (อกุศล) (๔) ก่อนอื่น ขอให้ทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า สำหรับคนที่มีสติไม่มากนั้น "จิตกับความคิด"ของเขา จะมัดรวมเป็นก้อนเดียวกันเลย เมื่อจิตเกิดอาการความคิดก็เกิดอาการด้วย จิตกับความคิดไปคู่กันประดุจมือซ้ายประกบมือขวา ซึ่ง เป้าหมายในการ นั่งสมาธินั้น ผมเชื่อว่า เพื่อ แยก จิตกับความคิดออกจากกัน ให้จิตเป็นอิสระจากความคิด ให้จิตไม่มีอิทธิพลต่อความคิด ให้ความคิดไม่มีอิทธิพลต่อจิต อย่างไรก็ตาม ผู้เริ่มต้นฝึกสติ มักจะ ช่างคิด คิดๆๆๆๆ เอาแต่คิดอยู่นั่นแหละ โดยหารู้ไม่ว่า ความคิดนั้นอันตรายมากๆ ความคิดของปุถุชนนั้นมักเจือกิเลส กิเลสปนเปื้อนมากับความคิด ความคิดของเราที่จำๆเชื่อๆเอาไว้ เต็มไปด้วย ความเท็จ ความจริง ความปลอม กุศล อกุศล ดังนั้น ตราบใดที่ เรายังฝึกสติได้ไม่มากพอ ที่ แยกจิตกับความคิดออกจากกัน เราก็ยากที่จะเข้าใจ "จิต" ของเราเอง (๕) ผมไม่ได้สอนให้ฝึก แยก "จิต กับ กาย" นะ ผมแนะนำให้ฝึกสติ เพื่อ แยก จิตกับความคิด ย้ำอีกที จิตกับความคิด ย้ำอีกครั้ง แยก "จิตกับความคิด" (๖) ตัวการที่ทำให้ จิตเกิดอาการ หรือที่ บางท่านเรียกว่า "จิตเกิด" หรือ ท่านอาจารย์พุทธทาส เรียกว่า "จิตไม่ว่าง"นั้น คือ เจ้าความคิดนี่เอง ดังนั้น เราฝึกสติ ก็เพื่อ จะได้ เห็น (รู้สึก) ชัดๆ ว่า ความคิดวิ่งเข้าไปกระแทกจิต กระแทกตอนไหน จะได้รู้ทันท่วงที รู้ขณะที่ความคิดวิ่งชนจิตได้ยิ่งดี (๗)ขณะที่เรากำลังทำงาน ทำกิจกรรมใดๆ เช่น ล้างจาน อ่านหนังสือ ดูหนัง ฯลฯ ความคิดของเราตอนนั้น เรียกว่า "ความคิดปัจจุบัน เป็นความคิดที่เราตั้งใจคิด และ แล้ว จู่เรา ฏ้เผลอไปคิดเรื่องอื่น เจ้าความคิดที่พาเราออกนอกเรื่อง ออกจากความคิดปัจจุบัน หลวงพ่อกล้วย ท่านเรียกว่า "ความคิดจร" ผมเรียกใหม่ว่า " จอห์นนี่ " โดย คำว่า จร คือ จรลี หรือ มาแบบไม่ได้เชิญ หรือ ลอยมาจากไหนก็ไม่รู้ ความคิดจร คือ ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิด ไม่ได้เชิญ วิ่งเข้ามาเอง หรือ เผลอหลุด เปลี่ยนเรื่องคิดก็ได้ ถ้า ความคิดที่ตั้งใจเดิมวิ่งไปตามถนนทางหลวง เจ้าความคิดจร คือ ความคิดที่พาเข้าซอย แหกโค้ง เปลี่ยนถนนนั่นเอง ผิดแผน ออกนอกแผนที่ ส่วนใหญ่แล้ว เจ้า จอห์นนี่ มัก วิ่งมาชนจิต จนทำให้จิตเกิดอาการ จิตไม่นิ่ง จิตไม่ว่าง จิตไม่โล่ง (๘) สมมติ เรามีบ้าน ๓ หลัง (ผมยืม คำสอน อาจารย์ศุภวรรณ กรีน มาใช้) บ้าน ๑ คือ กาย บ้าน ๒ คือ ใจ และ บ้าน ๓ คือ ความคิด โดย บ้าน ทั้ง ๓ หลังนี้ ครอบ ทับซ้อนกันอยู่ บ้าน ๑ อยู่ในบ้าน ๒ และ บ้าน ๓ ครอบบ้าน ๒ อีกที__ ทีนี้ คนปกติ ยังคิดๆๆๆๆ คือ มักอยู่ในบ้าน ๓ คือ เอาแต่คิด วิจารณ์โน้นนี่ ตัดสิน พิพากษา ดูถูก วิเคราะห์ ตีความ จดจำ ฯลฯ ดังนั้น จึงยากที่ จะเห็นว่ามี บ้าน ๑ และ บ้าน ๒ __ แต่ ถ้าเมื่อใด เรามาอยู่ที่ บ้าน ๑ คือ บ้านกาย เราจะเห็น บ้านใจ และ บ้านคิด ได้ชัดเจน (๙) คำว่า "ดูลมหายใจเข้าออก" นั้น ผมขอแยกแยะคำว่า "ดู" ก่อนเลยว่า เป็นคำที่คนโบราณเขาหมายถึง ใช้ความรู้สึกของกายบริเวณที่โดนลมกระทบ รับรู้ (sensing) ว่าลมเข้าออก อุ่นเย็น แรงค่อย ฯลฯ ให้ กายบริเวณรูจมูกรับรู้ลมหายใจ อย่าไปคิด อย่าใช้ความคิด ให้กายเขารู้ (sensing) อย่าไปคิด (Thinking)แทนกาย (๑๐) ถ้าเรายกมือขึ้น หรือกวาดมือ แหวกอากาศ ขอให้ลองรู้สึก(sensing) ว่ามีลมกระทบแขน กระทบมืออย่างไร และ กรุณาอย่าคิดแทนแขน การเปิดโอกาสให้ กายได้รับรู้โดยไม่คิดนี้ คือ การมาอยู่ที่บ้าน ๑ หรือ สติที่ฐานกาย เป็น สติแบบกายในกาย (๑๑) เมื่อเรา ส่งความรู้สึกไปที่กาย ให้กายรู้ ( รู้ ๆๆๆ นี่เอง ที่เขาเรียกว่า สติ) กายรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับกายบ้าง ตัวรู้นี้ คือ ตัว "สติ" ที่เขาว่าๆกันนั่นเอง เป็น สติ ตัวแรก ใน ๔ ตัว ของ มหาสติปัฏฐาน ๔ ( มหา คือ ใหญ่ เยอะมาก เต็มเปี่ยม) (๑๒) เราเริ่มฝึกจากสติน้อยๆ ฝึกๆๆๆไปจนสะสมสติได้มากขึ้น เก็บคะแนนสติสะสมให้มากๆ จาก สติน้อย มินิสติ ก็กลายไปเป็น แมคโครสติ หรือ มหาสติ นั่นเอง เมื่อได้มหาสติ เราจะได้ สติแบบออโต้เมติก (automatic) หรือ ออโต้สติ นั่นคือ จะขยับตัวยังไงก็แล้วแต่ สติตามไปด้วยตลอด ซึ่งแต่เดิมต้องค่อยสร้างสติไปกำกับทุกอิริยาบท แต่ เมื่อได้ มหาสติ ทุกอิริยาบทมีสติกำกับตลอดแบบตลอดเวลา ไม่ต้องนึก สติเขาก็มากำกับให้เอง (๑๓) สติ มี ๔ ระดับ ขอให้ฝึกไปทีละระดับ โดย ทั้ง ๔ ระดับ เรียงจากเบื้องต้น คือ กายในกาย (ให้กายรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับกาย เช่น กายรู้ลมหายใจ กายรู้เหนื่อย เมื่อย เจ็บ ฯลฯ) เวทนาในเวทนา (เวทนา คือ เวทนาทางกายและใจ เจ็บกาย เจ็บใจ ทุกข์กายทุกข์ใจ) จิตในจิต (จิต คือ ผู้รับรู้อารมณ์ ฝึกจนจิตว่างๆ แล้วเอาจิตว่างไปรู้ว่าจิตไม่ว่าง) และ สุดท้าย ธรรมในธรรม ซึ่ง ผมอยากให้ฝึก กายรู้ๆๆๆๆ ให้ได้ก่อน ให้รู้จนชำนาญ อย่าข้ามขั้นไปดูจิต เพราะ หลายคนมักเผลอไปเอาความคิดไปดูจิต ไม่ได้เอาจิตว่างๆไปรู้ว่าจิตว่างหรือไม่ว่าง โดนกิเลสที่ปนมากับความคิดแย่งรู้เสียหมด (๑๔) คำว่า "นั่งสมาธิ" ในความหมายของผม คือ นั่ง เพื่อสะสมกำลังสติ จนจิตว่าง จิตนิ่ง จิตโล่ง จิตรวมเป็นหนึ่ง จิตเป็นจิตเดิมแท้ จิตกลับสู่ปกติ จิตสว่าง จิตประภัสสร จิตเป็นศูนย์ ได้อย่างต่อเนื่อง เพราะได้กำลังสติสะสมมากถึงขั้น มหาสติ หรือ "สติออโต้" นั่นเอง (๑๕)ในการ " นั่งสมาธิ " ผม จะทำ ๓ อย่างพร้อมๆกัน ( เกือบจะพร้อมกัน สลับไปมาจนดูเหมือนพร้อมกัน)คือ (ก) ทำใจให้สบายๆ ว่างๆโล่งๆ โดย สังเกตจากที่กลสงอก จะเบาๆ สบายๆ โล่งๆ ไม่ตึง ไม่เกร็ง (ข) ฝึกสติ โดยให้ รู้ว่ามีลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือ ดูพุงยุบหนอ พองหนอก็ได้ ให้กายได้รับรู้ ความร้อนที่ก้น ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า รู้ ๆๆ เหน็บชา ลิ้นแตะเพดานปาก นิ้วยังสัมผัสนิ้วอยู่ ความร้อนของฝ่ามือซ้าย ที่ร้อนมากระทบหลังมือขวา ลมที่มาโดนกาย ฯลฯ (ค) มือใหม่ ผมแนะนำให้ บริกรรม พุทโธ ลมหายใจเข้ากำหนดพุทธ ลมหายใจออก กำหนด โธ ทั้งนี้ เพื่อ ให้ความคิดของเรา ยึดกับ "พุทโธ" บริกรรม เพื่อ เป็นความคิดปัจจุบัน เป็นความคิดหลัก จากนั้น เราจะพบว่า ความคิดจร จอห์นนี่จะแว่บเข้ามาเพียบเลย ความคิดจรจะมาชวนคิดออกนอก คิดออกนอกกาย จะลืมตัวรู้ของกาย เผลอไปเข้าบ้าน"คิด" และลืม บ้าน"กาย" อีกแล้ว (๑๖) เมื่อฝึกบ่อยๆ เรา รู้เท่าทัน (คำว่า รู้ทัน คือ มีสติ)ความคิด โดยเฉพาะ ตอนที่เราไปทำงาน ไปทำหน้าที่ทางโลก เช่น เมื่อกำลังทำงานอยู่ ความคิดหลัก คือ งานที่ทำ ใจเราโล่งๆ สบายๆ รู้ๆๆด้วยกายที่เกิดเวทนา ใจที่เกิดเวทนา และ ความคิดจร คือ คิดออกนอกเรื่อง ออกไปโกรธคนโน้นคนนี้ ออกไปกังวล ออกไปอยากได้ ไม่อยากได้ ฯลฯ ความคิดจร เมื่อกระแทกใจ จนใจไม่ว่าง จะมี ความคิดที่เจือกิเลส ท่านอาจารย์พุทธทาส เรียกว่า "เฉโก" (๑๗) เฉโก คือ ความคิดที่ผลิตออกมาตอนจิตไม่ว่าง ไม่นิ่ง เป็นความคิดที่มีลักษณะ อคติ ลำเอียง เครียดแค้น โกรธ โลภ หลง เบื่อ เซ็ง ฯลฯ
(๑๘) ในภาพ มาจาก หนังเรื่อง The Matrix ภาคแรก กิเลสมากับความคิด ความคิด คือ กระสุนที่กิเลส ( Mr Smith) ยิงใส่ พระเอก (ใจของเรา) เราจะเห็นได้ว่า กระสุน หรือ ความคิดจรนี้ กำลังถูกพระเอก ซึ่งตอนนี้ มีกำลังสติมากพอแล้ว ใช้ มือ (สติ) คว้า "จับ"ความคิดจรได้ทัน เช่น เมื่อเราได้ยินเสียงคนด่าเรา เราก็ จับความคิดจร ( ความคิดที่ตีความว่า นี่คือเรา เราโดนด่า เราต้องโกรธ มาด่าเราทำไม ใครนะบังอาจมาด่าเรา เราโกรธนะ เราไม่ชอบ เราไม่อยากฟัง ฯลฯ) ได้ทัน ความคิดจรไม่วิ่งไปชนจิต จิตก็เลยว่างๆ โล่งๆ สบายๆ ในฉากนี้ พระเอกบรรลุโสดาบัน จัดการ กับ ความคิดจรได้ทัน ซึ่ง ความคิดจรนี้ ฝรั่งเรียกว่า เสียงภายใน (Inner voice) แต่ ถ้าพลาด จิตโดนความคิดจรยิงโดน จิตเกิดอาการ เราจะ จี๊ด ปรี๊ด ร่างกายจะเปลี่ยนแปลง เช่น หายใจถี่ขึ้น เกร็งร่างกาย กำมือ แน่นหน้าอก ฯลฯ (๑๙) ที่เราฝึก สติที่ฐานกายมากๆ จนชำนาญ มีข้อดี เพราะ จิตเป็นนามธรรม เราจะรู้ว่าจิตเกิดอาการก็ต้องอาศัยกายเป็นตัวฟ้อง เป็นตัวบอกเราทางอ้อม เป็นตัวชี้บ่ง เป็นตัวเตือนเรา เช่น เมื่อจิตโกรธ กายจะเกร็ง มือเกร็ง หัวใจเต้น หูแดง ฯลฯ ดังนั้น ผู้มีกำลังสติมากๆ เขาจะรู้ลมหายใจว่าปกติเป็นยังไง ช้าหรือเร็ว ครั้นเมื่อจิตเกิดอาการ เขาก็รู้ว่าจิตเกิดอาการ เพราะ ลมหายใจเปลี่ยนจังหวะไป ถี่ขึ้นแรงขึ้น กล้ามเนื่้อกลางอกแน่น เกร็งกล้ามเนื่อส่วนอื่นๆด้วย (๒๐) คนที่ฝึกสติที่ฐานกายมามากแล้ว ก่อนจะร้องไห้ จะรู้ว่า กายเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ กลางอก ไล่ขึ้นมาลำคอ เมื่อเศร้ามากขึ้น จะรู้สึกตึง ขมไล่ไต่ขึ้นสองข้างแก้ม หรือ ก่อนที่จะง่วง ผู้มีสติดี รู้เท่าทันกาย เขาจะรู้ตั้งแต่ เมื่อยที่ หน้าท้อง กลางหลัง เมื่อง่วงมากขึ้น จะเมื่อยลามไต่ขึ้นมาต้นคอ ท้ายทอย ขมับ ฯลฯ เมื่อรู้ว่าจิตเศร้า จิตเบื่อง่วงนอน ก็ควรจะต้องดับ ระงับแต่เนิ่น แค่รู้ว่าจิตเกิดอากา กายเปลี่ยนแปลงก็พอแล้ว อย่าไปตามดูความโกรธ ความเศร้าเลย มันจะเคยตัว วันหน้าวันหลัง กิเลสมันรู้ทันเรา มันจะตลบหลังเรา เราจะโกรธง่าย เศร้าง่าย ดังนั้น เมื่อจิตเกิดอาการกุศลหรืออกุศลก็ให้ระงับ ไม่เอาทั้งกุศลและอกุศล จิตก็จะเป็นกลาง (๒๑) ถ้าเข้าใจเรื่อง ทำ ๓ อย่างพร้อมกัน คือ (ก) รู้กาย (ข) ใจโล่ง และ (ค) คิดดี ทำดี ไม่เฉโกแล้ว เราจะฝึกสติได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา ทุกอิริยาบท ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน กินเข้า เข้าห้องน้ำ ถูบ้าน อ่านหนังสือ ทำงาน เลี้ยงลูก เฝ้าไข้ ขับรถ ฯลฯ (๒๒) หลวงพ่อกัณหา ท่านสอนว่า "หายใจเข้าสบาย หายใจออกสบาย" ก็คือ ความหมายเดียวกันนี้นี่เอง รู้ลมหายใจเข้าออก (สติที่ฐานกาย) รู้ว่าใจโล่งๆ ใจสบาย ใจติดแอร์ ชุ่มฉ่ำใจเสมอ โล่งใจเสมอ (๒๓) เมื่อจิตว่างๆ จิตโล่งๆ มีสติกำกับอย่างต่อเนื่อง นี่แหละ คือ จิตเป็นสมาธิ จิตปราศจากกิเลสได้อย่างต่อเนื่อง (๒๔) คนมีสติ ฝึกจิตให้เป็นสมาธิ จึงสามารถทำงานได้ ทำงานแบบจิตว่างและมีสติกำกับอย่างต่อเนื่อง อย่างออโต้ เป็นดังสำนวนของพระอาจารย์พุทธทาสที่ว่า "บวชอยู่กับงาน" นั่นเอง หรือ "ยกวัดมาไว้ที่ใจ" ก็ใช่ เช่นกัน (๒๕) ดังนั้น คนที่ฝึกสติ ไม่ไใช่คนขี้เกียจ แต่ มักจะขยัน เพราะ สติจะดีดความขี้เกียจออกไป หลายคน มักตำหนิ ผู้ปฏิบัติว่า ฝึกแนวพุทธ เฉื่อยชา ละทิ้งสังคม ฯลฯ จึงเป็นคำวิจารณ์ของผู้ที่ยังไม่เข้าใจ เอาแต่คิดๆๆๆ เป็นผู้ที่มีกำลังสติน้อย ไม่เข้าใจเรื่อง จิตว่างๆอย่างเป็นสมาธิ ถ้าเราสังเกตดู จะพบว่า ครูบาอาจารย์ที่สอนกรรมฐาน ไม่มีท่านใดขี้เกียจ ไม่มีท่านใดละทิ้งความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ละท่านทำงานหนัก ทำเพื่อคนส่วนร่วมทั้งนั้น (๒๖) ด้วยการฝึก กายให้รู้ๆๆๆ มีสติที่ฐานกาย จนเป็น ออโต้แบบนี้ ผู้หญิงก็ฝึกได้ ผู้ชายก็ฝึกได้ เพศที่สามก็ฝึกได้ ลักเพศก็ฝึกได้ อย่าไปดูถูกตนเองเลยนะว่าฝึกไม่ได้ ขอให้ฝึกๆๆๆเถอะ อุปมา วันไหนเดิน ๑๐๐๐ ก้าว สร้างตัวรู้ๆๆ ที่ฝ่าเท้ากระทบพื้น ได้ ๑๐ ก้าว ก็ถือว่า สะสมสติได้ ๑๐ ก้าวแล้ว ฝึกๆ สะสมสติไปเรื่อยๆ เบื่อก็ฝึก ไม่เบื่อก็ฝึก ขี้เกียจก็ฝึก ไม่ขี้เกียจก็ฝึก เมื่อไรสติเต็ม ก็จะได้ มหาสติเอง ได้ ออโต้สติเอง ไม่จำกัดเพศ ไม่จำกัดวัย ไม่จำกัดฐานะ ไม่จำกัดความรู้ ไม่จำกัดเชื้อชาติ ไม่จำกัดศาสนา (๒๗) สำหรับมือใหม่ ผมแนะนำว่า ควรนั่งสมาธิให้ได้ทุกวัน และ ถ้าให้ดี เดินทุกก้าวให้มีสติ ทุกครั้งที่เปลี่ยนอิริยาบทก็ขอให้มีสติ ฝึก "ให้กายรู้ๆๆๆ ใจสบายๆ และ ติดดี ไม่เฉโก " ให้ได้ทั้งวัน (๒๘) อย่างไรก็ตาม ควรเข้ากราบหลวงปู่ หลวงพ่อ ครูบาอาจารย์ ปรึกษาข้อปฏิบัติกับท่าน จงเข้าพบบัณฑิต อย่าเข้าใกล้คนพาล ฟังธรรมตามกาล ดูแลบิดามารดา รับผิดชอบหน้าที่ ทำอาชีพสุจริต หมั่นทำทาน (ทานก็การสละ การบริจาค เพื่อให้ ละกิเลสออกจากใจ อย่าทำทานแบบสร้างกิเลส อย่าทำแบบหวังผล) รักษาศีล (อย่างน้อย ศีล๕) และ หมั่นภาวนา ( ภาวนา แปลว่า พัฒนา) ในที่นี้ คือ สะสมสติ รู้ทันความคิดจร ทำใจสบายๆ ไม่เฉโก หายใจเข้าสบาย หายใจออกสบาย มีสติต่อเนื่องในทุกอิริยาบท

จุดตะเกียงดีกว่าด่าความมืด

จุดตะเกียง ดีกว่า ด่าความมืด สำนวนนี้ ผมคิดว่า น่าจะเป็นสำนวนของจีน มีความหมายลึกซึ้งและกว้างใหญ่ไพศาลมาก (๑) ในแง่ปฏิบัติ คือ ลงมือฝึก ลงมือปฏิบัติตามคำสอนของครูบาอาจารย์ดีกว่าเอาเวลาไปตำหนิคนโน้น ด่าคนนี้ (๒) คน "ติดดี" คือ คนที่หลงว่าตนเองดี แล้ว ไป "ตัดสิน" "พิพากษา" คนอื่นๆว่าเลว ชั่ว ต่ำกว่าตน ซึ่งคนติดดรนี้แก้ยากจริงๆ คนติดดี จึงมัก ทำตัวแบบ "ยกตนข่มท่าน" (๓) เมื่อไฟดับ มัวแต่บ่นด่า ไม่ลงมือทำอะไร ทำให้คนอื่นจิตตกไปด้วย สู้คิดแล้วทำทันทีดีกว่า จุดไฟ จุดตะเกียงดีกว่า ความสว่างก็จะมาแทนความมืด (๔) เมื่อเจอทุกข์ แทนที่จะ จมทุกข์ จมความคิด ก็ให้มาอยู่กับปัจจุบันดีกว่า แก้ปัญหา อุปสรรคตรงหน้าก่อน คือ จุดไฟ จุดตะเกียง (๕) คนๆหนึ่ง เขามีทั้งดีและเลว ปนกัน มองในแง่ดีของเขาบ้างเถิด คนบางคนอาจจะใกล้หมดกำลังใจแล้ว คำพูดดี ก็เปรียบเสมือน "จุดไฟ จุดตะเกียง" ในหัวใจเขา การไปด่า อาจจะทำให้ ความหวังสุดท้ายของเขาดับไปได้ (๖) นึกถึง คำสอน ของท่านพระอาจารย์พุทธทาส ที่ว่า " ใครดีใครชั่วช่างเขา ใจเราร่มเย็นเป็นพอ " (๗) นึกถึง คำสอนในหนังสือฝรั่งที่ "ใครขโมยเนยของฉันไป" หนูฝูงหนึ่ง อาศัยอยู่ในรัง พวกมันเคยได้กินเนยมาตลอด อยู่มาวันหนึ่ง คนเลี้ยงที่ให้เนยหยุดการให้เนยแก่หนู หนูบางตัวก็ออกจากรังไปหากินตามปกติ แต่มีอยู่ตัวหนึ่ง แทนที่มันจะออกไปหากิน กลับตำหนิ ด่าหนูตัวอื่นๆว่า "ใครขโมยเนยของฉันไป" (๘) นึกถึงพวก ในเว็ป ในโลก social media ที่เอาแต่อ่าน เอาแต่วิจารณ์ แต่ ไม่เคยออกไปทำอะไร ไม่เคยทำจริงๆ นึกเอง คิดเอง เออเอง ฝันเอาเอง แต่ ตำหนิคนอื่นๆเขาได้ พวกนี้ คือ พวก ด่าความมืด (๙) สังคมบ้านเรา ขาดการชม ขาดการให้กำลังใจที่ดี ชอบแซว ชอบดับความหวังซึ่งกันและกัน มองแต่ด้านเสียของคนอื่น ทั้งๆที่ตนเองก็ไม่ได้ทำอะไรดีๆ ขึ้นมา
(๑๐) ถ้า Batman หรือ Heroes ของฝรั่งในหนัง มีคนเลวที่ไหน จะปรากฏตัว ทำไมเราไม่ลองกลับกัน มีคนดีที่ไหน เราเข้าไป ส่งเสริม แชร์ ทำข่าว ช่วยเหลือ ทั้งแบบง่าย น้อยๆ ไปจนมาก ตามกำลัง